@_@

@_@

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Study Notes 15


December 4,2014

วันนี้เพื่อนนำเสนองานวิจัย และพวกเราก็ได้ทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ผู้ปกครอง

การส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย

  • กิจกรรม ไข่ต้มสุก กับไข่ดิบ
  • สังเกตการหมุนของไข่ต้มสุก
  • สังเกตการหมุนของไข่ดิบ
  • สังเกตการหมุนของไข่ต้มสุกและไข่ดิบ


การทำแผ่นพับ

หน้าปก

  • สัญลักษณ์โรงเรียน
  • รูปภาพ
  • หน่วยที่เรียน
  • ชื่อนักเรียน
  • ชื่อครูผูสอน
เนื้อหา
  • ประชาสัมพันธ์
  • วัตถุประสงค์
  • สาระการเรียนรู้
  • ขอความร่วมือกับผู้ปกครอง
  • ส่อที่ใช้ เพลง คำคล้องจอง นิทาน
หน้าสุดท้าย
  • เกมที่ให้ผู้ปกครองเล่นกับนักเรียนเพื่อความสัมพันธ์ในครอบครัว





แก้ไข
เนื่องจากเกมใช้สีเยอะเกินไปอาจทำให้เด็กสับสนเปลี่ยนมาใช้แค่สีเดียว



Teaching methods (วิธีการสอน)
  • ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในงานวิจัยวิทยาศาสตร์ปฐมวัยด้วยตนเองและสรุปออกมา
  • ให้นักศึกษานำเสนอการสรุปบทวิจัยเพื่อให้ความรู้กับเพื่อนทุกคน
  • ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง
  • ให้คำแนะนำกับนักศึกษาทุกกลุ่มด้วยการอธิบาย และใช้คำถามกระตุ้นความคิดเพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์และแก้ปัญหาเป็น
apply (การนำไปประยุกต์ใช้)
  • นำเอางานวิจัยต่างๆไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กตามพัฒนาการ
  • การนำเอาการทำแผ่นพับไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ในอนาคต
  • ใช้คำที่เหมาะสมในการขอความร่วมมือ
  • การทำงานร่วนกันเป็นกลุ่มไม่ใช่ทำแค่คนเดียวแต่ต้องช่วยกันทำ
Evaluation (การประเมินผล)
ตนเอง มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำแผ่นพับ และหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ตั้งใจฟังคำแนะนำจากอาจารย์
เพื่อน มาเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังการนำเสนอ เพื่อนๆ แต่ละกลุ่มช่วยกันทำแผ่นพับ อย่างกระตือรือร้น
อาจารย์  แต่งกายเรียบร้อย และมาสอนตรงเวลาให้คำแนะนำในการคิดเกม การใช้คำพูดที่เหมาะสมเพื่อขอความร่วมมือ สอนการทำงานเป็นกลุ่ม ช่วยให้คำแนะนำและอธิบายอาจารย์เดินดูทุกกลุ่มอย่างตั้งใจ  เทคนิคที่อาจารย์สอนมาทั้งเทอมไม่ใช่แค่การใช้เทคโนโลย๊ในการสอนอย่างเดียว อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจริงสอนทุกขั้นตอน วิธีการสอนเด็ก อาจารย์ไม่ใช่แค่บอกแล้วให้พวกหนูฟังอย่างเดียว อาจารย์รับฟังพวกหนูอธิบายสิ่งที่พวกหนูเข้าใจด้วย หากพวกหนูเข้าใจผิดอาจารย์ก็ช่วยให้คำแนะนำ หนูจะนำเอาเทคนิคการสอนของอาจารย์และคำแนะนำต่างๆ ที่อาจารย์ให้ไปปรับใช้ให้ถูกต้อง ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะ









    


วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

VDO วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



บ้านวิทยาศาสตร์น้อยตอน ผจญภัยทะเลสาบ 

การทดลอง ครูนำน้ำที่ใส่อ่างวางไว้บนโต๊ะและครูถามว่า "จะทำอย่างไรให้น้ำที่อยู่ในอ่างลงไปอยู่ในข้างล่างได้อย่างไร"เด็กๆตอบว่า "ใช้หลอดดูด" ครูจึงเตรียมหลอดให้เด็กๆ แต่เด็กๆ สังเกตว่าต้องใช้หลอดยาวๆ ครูจึงถามว่า "ถ้าเราจะต้องใช้หลอดยาวๆ เราจะต้องทำอย่างไร" "เด็กๆตอบว่า ต่อหลอด" หลังจากนั้นเด็กๆ ช่วยกันต่อหลอดให้ยาว และใช้ปากดูดหลอดให้น้ำข้างบนไหลลงมาข้างล่างได้ ครูถามว่า "แล้วทำไมครั้งแรกน้ำถึงไม่ไหล" "เพราะมันไม่มีแรงดึงดูด" ครูลองยกหลอดขึ้นให้เท่ากับปากอ่างข้างบนปรากฎว่าน้ำไม่ไหล เด็กๆ ตอบว่า "เพราะน้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ" หลังจากนั้นครูเปลี่ยนจากหลอดมาใช้สายยาง ปรากฎว่าหลอดดูดยากกว่าสายยาง เพราะสายยางผิวเรียบและน้ำไปตามทางสายยาง สายยางไม่มีรอยต่อ เด็กๆ ตั้งสมมติฐาน 

 ตามกฎแรงดึงดูดของโลกน้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ เช่น น้ำตก ลำธาร แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำและน้ำหนักของน้ำในหลอดจะดูดเอาน้ำจากปลายหลอดด้านที่สูงกว่าลงมาสู่ด้านที่ต่ำกว่าทำให้เราถ่ายน้ำออกจากภาชนะได้อย่างง่ายดาย ซึ้งภายในท่อหรือหลอดน้ำจะกระทำกันคล้ายสายโซ่ ที่เรียงร้อยไปด้วยน้ำ ซึ้งจะดึงโมเลกุลน้ำด้วยกันตามกันมาโดยอาศัยพันธะไฮโดรเจน นั้นเอง






Study Notes 14


November 27,2014

วันนี้นักศึกษาออกมานำเสนอบทวิจัย และ VDO ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


การสร้างชุดกิจกกรมเพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ตัวแปรต้น ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ตัวแปรตาม ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์

  • การสังเกต
  • การจำแนก
  • การวัด
  • การหามิติสัมพันธ์
ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน

กิจกรรม 
  • แว่นขยายเห็นชัดเจน
  • แสงเป็นอย่างไร
  • เสียงในธรรมชาติ
ทักษะทางวิทยาศาสตร์
  • การสังเกต
  • การประมาณ
  • การเปลี่ยนแปลง
การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ทักษะทางวิทยาศาสตร์
  • การจำแนก
  • การจัดประเภท
  • อนุกรม
ผลของกิจกรรมการทดลอง

กิจกรรม พืชต้องการแสงแดด
ทักษะทางวิทยาศาสตร์
  • การสังเกต
  • การแบ่งปริมาตร
  • การหามิติสัมพันธ์
  • การจำแนกประเภท
  • การลงความเห็น
Teaching methods (วิธีการสอน)
  • ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในงานวิจัยวิทยาศาสตร์ปฐมวัยด้วยตนเองและสรุปออกมา
  • ให้นักศึกษานำเสนอการสรุปบทวิจัยเพื่อให้ความรู้กับเพื่อนทุกคน
  • การใช้คำถาม เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์
apply (การนำไปประยุกต์ใช้)
  • นำเอางานวิจัยต่างๆไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กตามพัฒนาการ
  • เครื่องมือของงานวิจัยไปใช้จัดกิจกรรมให้แก่เด็ก
  • นำเอาวิจัยไปเป็นแบบอย่างวิจัยในชั้นเรียน 
  • นำเอากิจกรรมต่างๆในวิจัยไปปรับใช้สอนกับเด็ก
Evaluation (การประเมินผล)
ตนเอง มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ จดบันทึกส่วนที่สำคัญ
เพื่อน มาเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังการนำเสนอ รวมไปถึงเพื่อนที่นำเสนอมีความตั้งใจถึงจะตื่นเต้นไปบ้างแต่ก็ทำออกมาได้ดี
อาจารย์  แต่งกายเรียบร้อย และมาสอนตรงเวลาตั้งใจฟังการนำเสนอของนักศึกษาจดบันทึก และจำทุกคำที่นักศึกษานำเสนอได้ ใช้คำถามเพื่อให้นักศึกษาได้คิด วิเคราะห์ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาและตัวกิจกรรมมากขึ้น