@_@

@_@

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Study Note 9


October 18,2014

* การเรียนการการสอนในวันนี้เพื่อชดเชย วันพฤหัสบดี ที่ 23 เนื่องจากเป็นวันปิยมหาราช

อาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดต่างๆ ของการเขียนแผนของหน่วยต่างๆ 5 วัน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการเขียนแผนในแต่ละวัน


  • ขั้นนำ คือการนำเข้าบทเรียนโดยการ เล่านิทาน ร้องเพลง ท่องคำคล้องจอง ที่สัมพันธ์กับเนื้อหาที่จะสอน
  • ขั้นสอน คือ ให้เด็กเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ทั้ง 5 ได้ลงมือปฏิบัติ ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กได้คิด
ขั้นสรุป คือ อาจจะให้เด็กๆ ทำชิ้นงานศิลปะสร้างสรรค์ ครูและเด็กๆช่วยกันสรุปด้วยกัน

หน่วยน้ำ



Teaching methods (วิธีการสอน)
  • อธิบายเพิ่มเติม และแนะนำแต่ละกลุ่มอย่างละเอียด
  • ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้คิด
  • อธิบายการเขียนแผนโดยการใช้คำให้กระชับ ถูกต้อง
  • สอนการบูรณาการเขียนแผนแต่ละหน่วย
Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)

เรียนรู้การเขียนแผนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับเนื้อหาโดยใช้สิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเด็กเพื่อให้เด็กได้ความรู้มากที่สุด เรียนรู้การบูรณาการเข้ากับวิชาต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา สังคม สุขศึกษา ศิลปะสร้างสรรค์

Evaluation (การประเมินผล)

ตนเอง  ตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ร่วมแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามกับอาจารย์

เพื่อน   เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังคำแนะนำและอธิบายของอาจารย์เพื่อให้แผนตนเองออกมาถูกต้องที่สุด

อาจารย์ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาสอนตรงเวลา อาจารย์ใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดและมีส่วนร่วมในการเขียนแผน และยกตัวอย่างการทดลอง กิจกรรม เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและมองเห็นภาพและได้ความรู้มากที่สุด

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Study Notes 8

October 16,2014


วันนี้นำเสนอสิ่งประดิษฐ์ <invention> วิทยาศาสตร์ ดิฉันนำเสนอ  “ดินสอกังหันลม” <wind turbine>





              อุปกรณ์
  •         กระดาษสี                                                                         
  •         ดินสอ
  •         หลอด
  •         ลวด

                                วิธีทำ กังหันลม 8 ใบพัด สองสี



1.     ลากเส้นทแยงมุมดังตัวอย่างทั้งสองแผ่น




2.     ขีดเส้นจากจุดกึ่งกลาง1.5 cm ทั้งสองแผ่น โดยแผ่นที่หนึ่งขีดตามเข็มนาฬิกา แผ่นที่สอง ทวนเข็มนาฬิกา




3.      ตัดกระดาษตามรอยที่เราขีดเส้นไว้ดังภาพตัวอย่าง





4.      นำกระดาษทั้งสองแผ่นมาวางซ้อนกันดังภาพตัวอย่าง





5.    พับกระดาษให้เข้าหาจุดกึ่งกลาง โดยใช้มุมขวาของแต่ละส่วน พับไปเรื่อย จะได้ดังภาพ



6.    ตัดกระดาษวงกลมสองอัน




7.   นำลวดและลูกปัดมาร้อยตามภาพ โดยส่วนปลายที่เหลือให้งอเข้าหาลูกปัดเพื่อความปลอดภัย



8. ตัดหลอดประมาณ 2 cm





9.               นำลวดส่วนที่เหลือมาร้อยลูกปัดกับหลอดและเสียบเข้ากับดินสอ อย่าลืองอลวดที่เหลือด้วยล่ะ เพื่อความปลอดภัย!!


วิธีทำ กังหันลม 4 ใบพัด





ทำเหมือนแปดใบพัดทุกขั้นตอนแต่ใช้กระดาษแค่แผ่นเดียวนะจ๊ะ !!



กังหันลม เมื่อมีลมพัดผ่านช่องว่างของกระดาษกลายเป็นพลังงานจลน์ทำให้กระดาษหมุนได้

พลังงานลมก็เหมือนกับพลังงานแสงอาทิตย์คือไม่ต้องซื้อ ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำเอาพลังงานลมมาใช้ประโยชน์มากขึ้น พื้นที่ยังมีปัญหาในการวิจัยพัฒนานำเอาพลังงานลมมาใช้งานเนื่องจากปริมาณของลมไม่สม่ำเสมอตลอดปี แต่ก็ยังคงมีพื้นที่บางพื้นที่สามารถนำเอาพลังงานลมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลเป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์ที่ช่วยในการเปลี่ยนจากพลังงานลมออกมาเป็นพลังงานในรูปอื่น ๆ เช่น ใชั กังหันลม (wind turbine) เพื่อเปลี่ยนให้เป็น พลังงานไฟฟ้ากังหันโรสี (หรือ windmill) เพื่อเปลี่ยนให้เป็น พลังงานกล คือเมื่อต่อเข้ากับระหัดวิดน้ำเพื่อระบายน้ำหรือต่อเข้ากับจักรกลก็สามารถใช้สีข้าวหรือนวดแป้งได้, กังหันสูบน้ำ หรือ wind pumpsails หรือใบเรือ เพื่อขับเคลื่อนเรือ


สิ่งประดิษฐ์ของเพื่อนๆ



Teaching methods (วิธีการสอน)

  • การสอนโดยใช้คำถาม
  • ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้คิด
  • การนำเสนอ
  • การเรียนรู้ด้วยตนเอง
Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)

เรียนรู้การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ ในเรื่องต่างๆ พลังงานลม แรงดันอากาศ สี ซึ่งมีอยู่รอบตัวเราแต่เราไม่เคยสังเกตและไม่รู้ ปลูกฝังให้ประหยัด และรักสิ่งแวดล้อม เพราะการประดิษฐ์ของเล่นจากของเหลือใช้ทำให้เรารู้จักรักของ เห็นคุณค่าของสิ่งรอบตัว 

Evaluation (การประเมินผล)

ตนเอง  สนุกไปกับการนำเสนอ ตั้งใจดูสิ่งประดิษฐืแต่ละชิ้นของเพื่อนๆ รวมถึงร่วมตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์

เพื่อน   เพื่อนทุกคนตั้งใจนำเสนอสิ่งประดิษฐ์ของตนเอง และแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งประดิษฐ์ของเพื่อน

อาจารย์ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาสอนตรงเวลา อาจารย์ให้คำแนะนำสิ่งประดิษฐ์ทุกชิิ้นและให้ความรู้เพิ่มเติมต่อจากเพื่อนๆ 




วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Study Notes 7

October ,02,2014

สิงประดิษฐ์ 






บทความ 
   

สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์
อุปกรณ์
  •       แกนกระดาษทิชชู
  •       ที่เจาะกระดาษ
  •       กรรไกร
  •       เชือก         
  •       กระดาษ
  •       ดินสอ,สี (ตกแต่ง)


วิธีทำ

  1.  ตัดครึ่งแกนกระดาษทิชชูมา
  2.  เจาะรุแกนกระดาษทิชชูดังภาพ 
  3.  นำเชือกมาร้อยดังภาพ
  4.  วาดรูปตกแต่งตามจินตนาการสร้างสรรรค์

Teaching methods (วิธีการสอน)

การสอนการนำเสนอบทความ การเลือกบทความ การสอนโดยการใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ ลงมือปฏิบัติเอง เรียนรู้ด้วยตนเอง คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง

Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)

สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ที่อาจารย์สอนไปใช้ในอนาคตการสอนได้โดยบูรณาการเข้ากับวิชาศิลปะสร้างสรรค์ และจากที่ได้ลงมือประดิษฐ์เอง ทำให้เราได้เรียนรู้ด้วยตนเอง การแก้ปัญหา
   
Evaluation (การประเมินผล)

ตนเอง  ร่วมแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์ จดบันทึกในส่วนที่สำคัญสนุกไปกับการประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ และการแก้ปัญหา แต่งกายถูกระเบียบ ตรงต่อเวลา

เพื่อน   เพื่อนทุกคนตั้งใจทำสิ่งประดิษฐ์ และสนุกสนานในการหาทางแก้ปัญหา มาเรียนตรงเวลา และแต่งกายถูกระเบียบทุกคน

อาจารย์ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาสอนตรงเวลา อาจารย์หาข้อมูลการทำสิ่งประดิษฐ์มาอย่างดีและแนะนำบทความ การเรียนมีทั้งแบบบรรยายและปฏิบัติทำให้ไม่น่าเบื่อและสนุกยิ่งขึ้น














วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Study Notes 6

September 25,2014

สิ่งประดิษฐ์   กังหันกระดาษ








Activities (กิจกรรม)
          อาจารย์ได้แจกกระดาษแล้วให้นักศึกษาตัดแบ่งเพื่อให้นักศึกษาทำการทดลองอุปกรณ์
  • กระดาษ
  • กรรไกร
  • คลิปหนีบกระดาษ
สาเหตุที่ต้องตัดกระดาษตรงกลางไม่เท่ากันเเพราะจะได้เห็นความแตกต่างของการทดลองแต่ละแบบได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งในการทดลอง เราจะนำกระดาษทั้ง 2 แบบมาโยนพร้อมกัน กระดาษที่ตัดสั้นจะหมุนแล้วตกลงบนพื้นเร็วกว่า 
การนำเสนอบทความ


การจัดหน่วยการเรียนการสอนเป็นแบบ mild map








 Teaching methods (วิธีการสอน)
สอนแบบใช้คำถามเพื่อให้นักศึกษาตอบเพื่อให้เกิดกระบวนการคิดและวิเคราะห์
 Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)
  • สามารถนำกิจกรรมสิ่งประดิษฐ์ไปสอนเด็กๆ ได้
  • ความรู้ในเรื่องบทความ ส่งเสริมความรู้ให้กับตัวเอง วันละหลายๆเรื่อง
  • การสร้างหน่วยการเรียน ควรมีหัวข้ออะไรบ้าง เพื่อพัฒนาให้เด็กได้ความรู้อย่างเต็มที่

        Evaluation (การประเมินผล)
        ตนเอง     มาก่อนเวลาเรียนทุกครั้ง ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย และจดบันทึกส่วนที่สำคัญ ร่วมกันแสดงความคิดเห็น
        เพื่อน      ตั้งใจจดบันทึก และตอบคำถาม
        อาจารย์    แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการเตรียมอุปกรณ์การประดิษฐ์สื่อมาให้นักศึกษา อภิปรายความรู้และทบทวนความรู้ให้กับเด็ก