@_@

@_@

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

RESEARCH




ความมุ่งหมายของการวิจัย 
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ดังนี้

1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนก
รายทักษะ ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวน                                        พฤกษศาสตร์โรงเรียน

2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนก
รายทักษะ ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

ความสำคัญของการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์
โรงเรียนและเป็นแนวทางในการใช้วิธีการสอนและการจัดกิจกรรมให้ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก
ปฐมวัยนำไปพัฒนาทักษะด้าน อื่น ๆ ให้แก่เด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัย
ต่อไป


ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชาย–หญิง ที่มีอายุ 5–6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้น
อนุบาลศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 30 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชาย–หญิง ที่มีอายุ 5–6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้น
อนุบาลศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
1 ห้องเรียน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับสลากนักเรียนชั้น
อนุบาลปีที่ 3 จำนวน 30 คน


ตัวแปรที่ศึกษา

1. ตัวแปรต้น คือการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ทักษะ ประกอบด้วย

2.1 การสังเกต
2.2 การวัด
2.3 การจำแนกประเภท
2.4 การลงความเห็น
2.5 การพยากรณ์

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย–หญิง ที่มีอายุ 5–6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่
ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ
เชียงราย

2. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง กระบวนการในการศึกษาหาความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนหลัก คือ การตั้งคำถามหรือกำหนดปัญหา การสร้างสมมุติฐาน
หรือคาดการณ์คำตอบ การออกแบบวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และแปลความหมาย
ข้อมูล การลงข้อสรุปและการสื่อสารซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าวนี้จะบูรณาการในการจัดประสบการณ์ในแต่ละวัน

3. ทักษะทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถและความ
ชำนาญในการเลือกใช้วิธีการที่ใช้ในการแสวงหาข้อมูลที่เกิดจากการปฏิบัติและฝึกฝนอย่างมีระบบ
โดยมีทักษะที่ต้องการส่งเสริม ดังนี้

3.1 การสังเกต หมายถึง ความสามารถการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ
หลายอย่างรวมกันได้ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้นและสัมผัสผิวกายเข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือ
เหตุการณ์ เพื่อค้นหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น
3.2 การวัด หมายถึง ความสามารถใช้เครื่องมือง่าย ๆ ที่เหมาะสมกับการวัด
การกะประมาณ การเปรียบเทียบ เพื่อบอกปริมาณสิ่งของต่าง ๆ รวมถึงการใช้อุปกรณ์ในการวัด
3.3 การจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการวัด ด้วยการเรียง แยกหรือ
แบ่งสิ่งของต่าง ๆ รอบตัว ตามคุณลักษณะที่มีความเหมือน
3.4 การลงความเห็น หมายถึง ความสามารถในการอธิบายหรือการตีความหมาย
ของสิ่งที่สังเกตได้
3.5 การพยากรณ์ หมายถึง ความสามารถในการคาดคะเนหรือการทำนายคำตอบ
โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือข้อมูลจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ร่วมกับการสังเกต
ทักษะทั้ง 5 วัดได้จากแบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่
ผู้วิจัยสร้างขึ้น

4. การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หมายถึง กิจกรรมที่ประยุกต์จากดำเนินงานจากรูปแบบของ กิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยพิจารณาจากองค์ประกอบของกิจกรรมที่เหมาะสำหรับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้

4.1 กิจกรรมการปลูกต้นไม้ เช่น พืชผักพื้นเมือง สมุนไพร ฯลฯ โดยการจัดกิจกรรม
การเพาะปลูกพืชที่เด็กสนใจไว้ในโรงเรียนพร้อมทั้งเรียนรู้วิธีการดูแลรักษาและสังเกตการ
เจริญเติบโตของพืช
4.2 การศึกษาสังเกตพันธุ์ไม้ โดยจัดกิจกรรมการศึกษาสังเกตลักษณะของพรรณไม้
จากลักษณะของ ใบ ดอก ผล และทำการบันทึกลงในสมุดที่พัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับเด็ก
ปฐมวัยจากแบบสมุดบันทึกข้อมูลพันธุ์ไม้ตามแบบของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนโครงการ
อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
4.3 กิจกรรมการใช้ประโยชน์จากพืช เช่น การวาดภาพทางพฤกษศาสตร์ การ
ประกอบอาหารจากพืช การประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องประดับจากเศษวัสดุธรรมชาติ การ
ปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ที่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบ
กิจกรรมบูรณาการหรือโครงงาน

สมมุติฐานในการวิจัย

เด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรม
สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลงของทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์แตกต่างจากก่อน
การจัดประสบการณ์

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ

1. แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
2. แบบทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลได้ดำเนินการดังนี้

1. หาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการจัด
ประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อศึกษา
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและรายทักษะ โดยใช้ค่า
แจกแจง t แบบ Dependent Samples

สรุปผลการวิจัย

1. ระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะ
สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
2. ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะ แตกต่าง
จากก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น