@_@

@_@

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Study Notes 15


December 4,2014

วันนี้เพื่อนนำเสนองานวิจัย และพวกเราก็ได้ทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ผู้ปกครอง

การส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย

  • กิจกรรม ไข่ต้มสุก กับไข่ดิบ
  • สังเกตการหมุนของไข่ต้มสุก
  • สังเกตการหมุนของไข่ดิบ
  • สังเกตการหมุนของไข่ต้มสุกและไข่ดิบ


การทำแผ่นพับ

หน้าปก

  • สัญลักษณ์โรงเรียน
  • รูปภาพ
  • หน่วยที่เรียน
  • ชื่อนักเรียน
  • ชื่อครูผูสอน
เนื้อหา
  • ประชาสัมพันธ์
  • วัตถุประสงค์
  • สาระการเรียนรู้
  • ขอความร่วมือกับผู้ปกครอง
  • ส่อที่ใช้ เพลง คำคล้องจอง นิทาน
หน้าสุดท้าย
  • เกมที่ให้ผู้ปกครองเล่นกับนักเรียนเพื่อความสัมพันธ์ในครอบครัว





แก้ไข
เนื่องจากเกมใช้สีเยอะเกินไปอาจทำให้เด็กสับสนเปลี่ยนมาใช้แค่สีเดียว



Teaching methods (วิธีการสอน)
  • ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในงานวิจัยวิทยาศาสตร์ปฐมวัยด้วยตนเองและสรุปออกมา
  • ให้นักศึกษานำเสนอการสรุปบทวิจัยเพื่อให้ความรู้กับเพื่อนทุกคน
  • ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง
  • ให้คำแนะนำกับนักศึกษาทุกกลุ่มด้วยการอธิบาย และใช้คำถามกระตุ้นความคิดเพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์และแก้ปัญหาเป็น
apply (การนำไปประยุกต์ใช้)
  • นำเอางานวิจัยต่างๆไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กตามพัฒนาการ
  • การนำเอาการทำแผ่นพับไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ในอนาคต
  • ใช้คำที่เหมาะสมในการขอความร่วมมือ
  • การทำงานร่วนกันเป็นกลุ่มไม่ใช่ทำแค่คนเดียวแต่ต้องช่วยกันทำ
Evaluation (การประเมินผล)
ตนเอง มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำแผ่นพับ และหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ตั้งใจฟังคำแนะนำจากอาจารย์
เพื่อน มาเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังการนำเสนอ เพื่อนๆ แต่ละกลุ่มช่วยกันทำแผ่นพับ อย่างกระตือรือร้น
อาจารย์  แต่งกายเรียบร้อย และมาสอนตรงเวลาให้คำแนะนำในการคิดเกม การใช้คำพูดที่เหมาะสมเพื่อขอความร่วมมือ สอนการทำงานเป็นกลุ่ม ช่วยให้คำแนะนำและอธิบายอาจารย์เดินดูทุกกลุ่มอย่างตั้งใจ  เทคนิคที่อาจารย์สอนมาทั้งเทอมไม่ใช่แค่การใช้เทคโนโลย๊ในการสอนอย่างเดียว อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจริงสอนทุกขั้นตอน วิธีการสอนเด็ก อาจารย์ไม่ใช่แค่บอกแล้วให้พวกหนูฟังอย่างเดียว อาจารย์รับฟังพวกหนูอธิบายสิ่งที่พวกหนูเข้าใจด้วย หากพวกหนูเข้าใจผิดอาจารย์ก็ช่วยให้คำแนะนำ หนูจะนำเอาเทคนิคการสอนของอาจารย์และคำแนะนำต่างๆ ที่อาจารย์ให้ไปปรับใช้ให้ถูกต้อง ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะ









    


วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

VDO วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



บ้านวิทยาศาสตร์น้อยตอน ผจญภัยทะเลสาบ 

การทดลอง ครูนำน้ำที่ใส่อ่างวางไว้บนโต๊ะและครูถามว่า "จะทำอย่างไรให้น้ำที่อยู่ในอ่างลงไปอยู่ในข้างล่างได้อย่างไร"เด็กๆตอบว่า "ใช้หลอดดูด" ครูจึงเตรียมหลอดให้เด็กๆ แต่เด็กๆ สังเกตว่าต้องใช้หลอดยาวๆ ครูจึงถามว่า "ถ้าเราจะต้องใช้หลอดยาวๆ เราจะต้องทำอย่างไร" "เด็กๆตอบว่า ต่อหลอด" หลังจากนั้นเด็กๆ ช่วยกันต่อหลอดให้ยาว และใช้ปากดูดหลอดให้น้ำข้างบนไหลลงมาข้างล่างได้ ครูถามว่า "แล้วทำไมครั้งแรกน้ำถึงไม่ไหล" "เพราะมันไม่มีแรงดึงดูด" ครูลองยกหลอดขึ้นให้เท่ากับปากอ่างข้างบนปรากฎว่าน้ำไม่ไหล เด็กๆ ตอบว่า "เพราะน้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ" หลังจากนั้นครูเปลี่ยนจากหลอดมาใช้สายยาง ปรากฎว่าหลอดดูดยากกว่าสายยาง เพราะสายยางผิวเรียบและน้ำไปตามทางสายยาง สายยางไม่มีรอยต่อ เด็กๆ ตั้งสมมติฐาน 

 ตามกฎแรงดึงดูดของโลกน้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ เช่น น้ำตก ลำธาร แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำและน้ำหนักของน้ำในหลอดจะดูดเอาน้ำจากปลายหลอดด้านที่สูงกว่าลงมาสู่ด้านที่ต่ำกว่าทำให้เราถ่ายน้ำออกจากภาชนะได้อย่างง่ายดาย ซึ้งภายในท่อหรือหลอดน้ำจะกระทำกันคล้ายสายโซ่ ที่เรียงร้อยไปด้วยน้ำ ซึ้งจะดึงโมเลกุลน้ำด้วยกันตามกันมาโดยอาศัยพันธะไฮโดรเจน นั้นเอง






Study Notes 14


November 27,2014

วันนี้นักศึกษาออกมานำเสนอบทวิจัย และ VDO ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


การสร้างชุดกิจกกรมเพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ตัวแปรต้น ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ตัวแปรตาม ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์

  • การสังเกต
  • การจำแนก
  • การวัด
  • การหามิติสัมพันธ์
ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน

กิจกรรม 
  • แว่นขยายเห็นชัดเจน
  • แสงเป็นอย่างไร
  • เสียงในธรรมชาติ
ทักษะทางวิทยาศาสตร์
  • การสังเกต
  • การประมาณ
  • การเปลี่ยนแปลง
การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ทักษะทางวิทยาศาสตร์
  • การจำแนก
  • การจัดประเภท
  • อนุกรม
ผลของกิจกรรมการทดลอง

กิจกรรม พืชต้องการแสงแดด
ทักษะทางวิทยาศาสตร์
  • การสังเกต
  • การแบ่งปริมาตร
  • การหามิติสัมพันธ์
  • การจำแนกประเภท
  • การลงความเห็น
Teaching methods (วิธีการสอน)
  • ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในงานวิจัยวิทยาศาสตร์ปฐมวัยด้วยตนเองและสรุปออกมา
  • ให้นักศึกษานำเสนอการสรุปบทวิจัยเพื่อให้ความรู้กับเพื่อนทุกคน
  • การใช้คำถาม เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์
apply (การนำไปประยุกต์ใช้)
  • นำเอางานวิจัยต่างๆไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กตามพัฒนาการ
  • เครื่องมือของงานวิจัยไปใช้จัดกิจกรรมให้แก่เด็ก
  • นำเอาวิจัยไปเป็นแบบอย่างวิจัยในชั้นเรียน 
  • นำเอากิจกรรมต่างๆในวิจัยไปปรับใช้สอนกับเด็ก
Evaluation (การประเมินผล)
ตนเอง มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ จดบันทึกส่วนที่สำคัญ
เพื่อน มาเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังการนำเสนอ รวมไปถึงเพื่อนที่นำเสนอมีความตั้งใจถึงจะตื่นเต้นไปบ้างแต่ก็ทำออกมาได้ดี
อาจารย์  แต่งกายเรียบร้อย และมาสอนตรงเวลาตั้งใจฟังการนำเสนอของนักศึกษาจดบันทึก และจำทุกคำที่นักศึกษานำเสนอได้ ใช้คำถามเพื่อให้นักศึกษาได้คิด วิเคราะห์ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาและตัวกิจกรรมมากขึ้น


วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Study Notes 13

November 20,2014

วันนี้นำเสนอสรุปงานวิจัย 4 คน จากนั้นอาจารย์ได้รวบรวมของเล่นวิทยาศาสตร์โดยจัดเป็นหมวดหมู่และสาธิตและให้แบ่งกลุ่มทำวาฟเฟิล เพื่อเป็นแนวทางการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก

เพื่อนๆ นำเสนองานวิจัย





จัดของเล่นเป็นหมวดหมู่ ได้แก่

                                                            พลังงานลม
                                                            การหมุน
                                                            เสียง
                                                            น้ำ 
                                                            มุมเสริมประสบการณ์




สาธิตและทำวาฟเฟิล



Teaching methods (วิธีการสอน)
  • ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในงานวิจัยวิทยาศาสตร์ปฐมวัยด้วยตนเองและสรุปออกมา
  • ให้นักศึกษานำเสนอการสรุปบทวิจัยเพื่อให้ความรู้กับเพื่อนทุกคน
  • ให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและรู้จักการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
apply (การนำไปประยุกต์ใช้)
  • นำเอางานวิจัยต่างๆไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กตามพัฒนาการ
  • เครื่องมือของงานวิจัยไปใช้จัดกิจกรรมให้แก่เด็ก
  • นำเอาวิจัยไปเป็นแบบอย่างวิจัยในชั้นเรียน
  • เรียนรู้ปัญหาและการแก้ปัญหาของวิจัยแต่ละเรื่องเพื่อนำเอาเป็นแบบอย่าง
  • ใช้เป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์แก่เด็ก โดยเฉพาะ การทำ cooking โดยให้เด็กลงมือปฏิบัติจริง และต้องดูแลอย่างทั่วถึง รวมถึงบูรณาการเข้ากับวิชาอื่นๆ
Evaluation (การประเมินผล)
ตนเอง มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ และลงมือทำวาฟเฟิล ถึงจะไม่ค่อยถนัดเท่าไหร่แต่อาจารย์ก็คอยแนะนำตลอดเวลา
เพื่อน มาเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังการนำเสนอ รวมไปถึงเพื่อนที่นำเสนอมีความตั้งใจ เพื่อนๆ ดูกระตือรือร้นในการทำ cooking มาก และมีความตั้งใจในการเรียนรู้จากอาจารย์
อาจารย์  แต่งกายเรียบร้อย และมาสอนตรงเวลาตั้งใจฟังการนำเสนอของนักศึกษาจดบันทึก และจำทุกคำที่นักศึกษานำเสนอได้ เตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษามาพร้อมเพื่อให้ทั่วถึงและให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติทุกคน และคอยให้คำแนะนำอยู่ข้าง รวมถึงอธิบายการนำเอาไปจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กด้วย












วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

RESEARCH




ความมุ่งหมายของการวิจัย 
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ดังนี้

1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนก
รายทักษะ ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวน                                        พฤกษศาสตร์โรงเรียน

2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนก
รายทักษะ ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

ความสำคัญของการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์
โรงเรียนและเป็นแนวทางในการใช้วิธีการสอนและการจัดกิจกรรมให้ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก
ปฐมวัยนำไปพัฒนาทักษะด้าน อื่น ๆ ให้แก่เด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัย
ต่อไป


ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชาย–หญิง ที่มีอายุ 5–6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้น
อนุบาลศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 30 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชาย–หญิง ที่มีอายุ 5–6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้น
อนุบาลศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
1 ห้องเรียน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับสลากนักเรียนชั้น
อนุบาลปีที่ 3 จำนวน 30 คน


ตัวแปรที่ศึกษา

1. ตัวแปรต้น คือการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ทักษะ ประกอบด้วย

2.1 การสังเกต
2.2 การวัด
2.3 การจำแนกประเภท
2.4 การลงความเห็น
2.5 การพยากรณ์

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย–หญิง ที่มีอายุ 5–6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่
ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ
เชียงราย

2. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง กระบวนการในการศึกษาหาความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนหลัก คือ การตั้งคำถามหรือกำหนดปัญหา การสร้างสมมุติฐาน
หรือคาดการณ์คำตอบ การออกแบบวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และแปลความหมาย
ข้อมูล การลงข้อสรุปและการสื่อสารซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าวนี้จะบูรณาการในการจัดประสบการณ์ในแต่ละวัน

3. ทักษะทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถและความ
ชำนาญในการเลือกใช้วิธีการที่ใช้ในการแสวงหาข้อมูลที่เกิดจากการปฏิบัติและฝึกฝนอย่างมีระบบ
โดยมีทักษะที่ต้องการส่งเสริม ดังนี้

3.1 การสังเกต หมายถึง ความสามารถการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ
หลายอย่างรวมกันได้ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้นและสัมผัสผิวกายเข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือ
เหตุการณ์ เพื่อค้นหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น
3.2 การวัด หมายถึง ความสามารถใช้เครื่องมือง่าย ๆ ที่เหมาะสมกับการวัด
การกะประมาณ การเปรียบเทียบ เพื่อบอกปริมาณสิ่งของต่าง ๆ รวมถึงการใช้อุปกรณ์ในการวัด
3.3 การจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการวัด ด้วยการเรียง แยกหรือ
แบ่งสิ่งของต่าง ๆ รอบตัว ตามคุณลักษณะที่มีความเหมือน
3.4 การลงความเห็น หมายถึง ความสามารถในการอธิบายหรือการตีความหมาย
ของสิ่งที่สังเกตได้
3.5 การพยากรณ์ หมายถึง ความสามารถในการคาดคะเนหรือการทำนายคำตอบ
โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือข้อมูลจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ร่วมกับการสังเกต
ทักษะทั้ง 5 วัดได้จากแบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่
ผู้วิจัยสร้างขึ้น

4. การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หมายถึง กิจกรรมที่ประยุกต์จากดำเนินงานจากรูปแบบของ กิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยพิจารณาจากองค์ประกอบของกิจกรรมที่เหมาะสำหรับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้

4.1 กิจกรรมการปลูกต้นไม้ เช่น พืชผักพื้นเมือง สมุนไพร ฯลฯ โดยการจัดกิจกรรม
การเพาะปลูกพืชที่เด็กสนใจไว้ในโรงเรียนพร้อมทั้งเรียนรู้วิธีการดูแลรักษาและสังเกตการ
เจริญเติบโตของพืช
4.2 การศึกษาสังเกตพันธุ์ไม้ โดยจัดกิจกรรมการศึกษาสังเกตลักษณะของพรรณไม้
จากลักษณะของ ใบ ดอก ผล และทำการบันทึกลงในสมุดที่พัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับเด็ก
ปฐมวัยจากแบบสมุดบันทึกข้อมูลพันธุ์ไม้ตามแบบของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนโครงการ
อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
4.3 กิจกรรมการใช้ประโยชน์จากพืช เช่น การวาดภาพทางพฤกษศาสตร์ การ
ประกอบอาหารจากพืช การประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องประดับจากเศษวัสดุธรรมชาติ การ
ปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ที่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบ
กิจกรรมบูรณาการหรือโครงงาน

สมมุติฐานในการวิจัย

เด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรม
สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลงของทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์แตกต่างจากก่อน
การจัดประสบการณ์

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ

1. แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
2. แบบทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลได้ดำเนินการดังนี้

1. หาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการจัด
ประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อศึกษา
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและรายทักษะ โดยใช้ค่า
แจกแจง t แบบ Dependent Samples

สรุปผลการวิจัย

1. ระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะ
สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
2. ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะ แตกต่าง
จากก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น





Study Notes 12

November 13,2014emoticons น่ารักๆ catoon

วันนี้เพื่อนได้นำเสนองานวิจัย ทั้งหมด 7 คน


1.น.ส กมลพรรณ แสนจันทร์ ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 // ของศรีนวล ศรีอ่ำ

Teaching methods (วิธีการสอน)

  • ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในงานวิจัยวิทยาศาสตร์ปฐมวัยด้วยตนเองและสรุปออกมา
  • ให้นักศึกษานำเสนอการสรุปบทวิจัยเพื่อให้ความรู้กับเพื่อนทุกคน
  • ใช้คำถามกระตุ้นและใช้คำถามปลายเปิดให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์
apply (การนำไปประยุกต์ใช้)
  • นำเอางานวิจัยต่างๆไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กตามพัฒนาการ
  • เครื่องมือของงานวิจัยไปใช้จัดกิจกรรมให้แก่เด็ก
  • นำเอาวิจัยไปเป็นแบบอย่างวิจัยในชั้นเรียน
  • เรียนรู้ปัญหาและการแก้ปัญหาของวิจัยแต่ละเรื่องเพื่อนำเอาเป็นแบบอย่าง
Evaluation (การประเมินผล)
ตนเอง มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ
เพื่อน มาเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังการนำเสนอ รวมไปถึงเพื่อนที่นำเสนอมีควาตั้งใจแต่มยังมีบางคนยังไม่กล้าแสดงออกมากนัก
อาจารย์  แต่งกายเรียบร้อย และมาสอนตรงเวลา  ตั้งใจฟังการนำเสนอของนักศึกษจดบันทึก และจำทุกคำที่นักศึกษานำเสนอได้ รวมไปถึงถามเพื่อทบทวนความรู้ให้นักศึกษาที่ฟังอยู่ให้เข้าใจในงานวิจัยมากขึ้นโดยเฉพาะตัวกิจกรรมซึ่งเป็นเครื่องมือในงานวิจัย