@_@

@_@

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ



สอนลูกเรื่องภาวะโลกร้อน

สอนลูกเรื่องภาวะโลกร้อน (Teaching Children about Global Warming) หมายถึงการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาวะที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการลดสภาวะโลกร้อน ทำให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงสาเหตุที่โลกร้อน และวิธีการลดภาวะโลกร้อนด้วยการนำของใช้หรือของเล่นมาใช้ซ้ำหรือดัดแปลงใหม่เป็นสิ่งใหม่ วิธีดังกล่าวสามารถปลูกฝังนิสัยที่ดีๆให้เด็กได้รู้จักรักของ ประหยัด อดทน และช่วยลดขยะหรือสิ่งเหลือใช้ที่เกิดขึ้นในโลก 

ครูสอนเรื่องภาวะโลกร้อนได้อย่างไร

ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้การลดภาวะโลกร้อนสำหรับเด็กปฐมวัยในหน่วยที่กำหนดเฉพาะ เช่น หน่วยขยะ หน่วยของเล่นของใช้ หรือบูรณาการในหน่วยอื่นๆ เช่น หน่วยชุมชนของเรา ทำกิจกรรมแยกขยะใส่ถังในชุมชน หน่วยบ้านน่าอยู่ ทำกิจกรรมใช้สิ่งของซ้ำเพื่อประหยัด หรือหน่วยโรงเรียน ใช้บัวรดน้ำต้นไม้ที่ทำจากขวดพลาสติกหรือกระป๋องเหลือใช้ เล่นเครื่องเล่นสนามที่ทำจากล้อรถยนต์เก่า เป็นต้น ในที่นี้นำเสนอตัวอย่างหน่วยโลกน่าอยู่เพราะตัวเรา มีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้เด็กรู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม และเพื่อเด็กได้ดูแลรักษาสิ่งแวด ล้อมผ่านกิจกรรมหลักทั้งหกในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย


พ่อแม่ผู้ปกครองสอนเรื่องภาวะโลกร้อนได้อย่างไร

กิจกรรมง่ายๆที่ลูกทำเองได้และทำร่วมกับผู้ใหญ่ เมื่อทำงานเสร็จ ผลงานที่ลูกทำควรเป็นสิ่งที่นำมาใช้ได้จริง เด็กจะเห็นถึงคุณค่าของการลดการใช้และใช้ซ้ำสอนลูกให้แยกขยะก่อนทิ้ง (ตามแบบพ่อแม่ปฏิบัติ) และที่บ้านจัดถังขยะไว้หลายๆใบ สำหรับแยกใส่ขยะที่แตกต่างกัน การสอนเช่นนี้เพื่อให้สอดคล้องกับการสอนที่โรงเรียนและที่ชุมชน

เกร็ดความรู้เพื่อครู

เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและสนุกสนาน หากมีสื่ออุปกรณ์ให้เด็กได้จับสัมผัส ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ครูปฐมวัยจะเป็นผู้จัดการหาสื่อและผลิตสื่อให้แก่เด็ก การเลือกหาวัสดุเหลือใช้มาดัดแปลงหรือใช้วิธีใช้ซ้ำ (Reuse) ที่เป็นประโยชน์ทั้งในด้านการมีสื่อการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น ประหยัดทุนการผลิตและช่วยลดขยะ ตัวอย่างสื่อที่ครูสามารถจัดหาได้ด้วยวิธีใช้ซ้ำ (Reuse) เช่น ใช้แปรงสีฟันที่ใช้แล้วเป็นแปรงทากาวในกิจกรรมสร้างสรรค์ ใช้กล่องนมแทนกระดาษทำสื่อได้หลายชนิด เช่น ทำบัตรคำ บัตรภาพ ป้ายนิเทศ




วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

Study Notes 5


September 18,2014

อาจารย์แจกกระดาษให้ตัดแบ่งกัน และวาดรูปที่สอดคล้องกันลงกระดาษทั้ง 2 ด้าน



                                            

เพื่อนๆ นำเสนอบทความ

เด็กๆ อนุบาล สนุกกับ สะเต็มศึกษา ผ่านโครงงานปฐมวัย คลิก!:icondaisyphantom:
โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร คลิก!
บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์ คลิก!

 ความลับของแสง

แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่ง เดินทางในรูปคลื่นด้วยอัตราเร็วสูง 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที แหล่งกำเนิดแสงมีทั้งแหล่งกำเนิดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น แสงดวงอาทิตย์ที่เป็นแหล่งพลังงานของสิ่งมีชีวิต แหล่งกำเนิดแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น การสะท้อนของแสง ที่เราสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้เพราะแสงส่องมาโดนวัตถุต่างๆ และแสงจะสะท้อนจากวัตถุเข้าสู่ตาของเรา

คุณสมบัติของแสง  การเดินทางเป็นเส้นตรง (Rectilinear propagation) การหักเห (Refraction) การสะท้อน (Reflection) และการกระจาย (Dispersion) การเดินทางแสงเป็นเส้นตรงวัตถุที่ยอมให้แสงเคลื่อนที่ผ่านเป็นเส้นตรงไปได้นั้น เราเรียกวัตถุนี้ว่า วัตถุโปร่งใส เช่น แก้ว อากาศ น้ำ  ถ้าแสงเคลื่อนที่ผ่านวัตถุบางชนิดแล้วเกิดการกระจายของแสงออกไป โดยรอบ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไม่เป็นเส้นตรง เราเรียกวัตถุนั้นว่า วัตถุโปร่งแสง เช่น กระจกฝ้า กระดาษไข พลาสติกฝ้า เป็นต้น ส่วนวัตถุที่ไม่ยอมให้แสงเคลื่อนที่ผ่านไปได้ เราเรียกว่า วัตถุทึบแสง เช่น ผนังคอนกรีต กระดาษแข็งหนาๆ เป็นต้น วัตถุทึบแสงจะสะท้อนแสงบางส่วนและดูดกลืนแสงบางส่วนไว้ทำให้เกิดเงาขึ้น



การนำไปประยุกต์ใช้

          นำความรู้เรื่องของแสง และการประดิษฐ์สื่อมาดัดแปลงใช้สำหรับสอนเด็กในอนาคต โดยการให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ตามความคิดและประสบการณ์เดิมของเด็ก ทั้งนี้การจัดกิจกรรมควรสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กด้วย

การประเมินหลังเรียน

  • ตนเอง ดิฉันเข้าเรียนตรงต่อเวลา และแต่งกายถูกระเบียบ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็และตอบคำถามกับอาจารย์
  • เพื่อน    วันนี้เพื่อนๆ ตั้งใจ จดบันทึกเนื้อหาที่สำคัญ และแต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  • อาจารย์  วันนี้อาจารย์เตรียมความพร้อมในการสอนนำสื่ออุปกรณ์ต่างๆ มาให้นักศึกษา ให้รายละเอียดและสรุปบทความของเพื่อน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
วิธีการสอน
  • ารใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้นักศึกษาได้คิด วิเคราะห์ ในการหาคำตอบใช้อุปกรณ์ในการสอน เช่น กระดาษ กรรไกร และสี 





วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 11  เดือนกันยายน  2557
ครั้งที่ 3  กลุ่มเรียน  101 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30 - 12.20 น.



Applied (การนำไปใช้)

สามารถนำบทความทีตนเองและเพื่อนๆ นำเสนอ ไปประยุกต์ใช้ในการสอน

Teaching methods (วิธีการสอน)

ใช้เทคโนโลยีประกอบการสอนเชน การนำเสนอ Power Point และให้นักศึกษาร่วมแสดงความคิดเห็นและการหาคำตอบ

การประเมินหลังเรียน 

me วันนี้ดิฉันได้ออกไปนำเสนอบทความ มีปัญกาในการ เนื่องจากพูดเร็วเกินไป ทำให้คำผิดเพิ้ยน ดิฉันจพนำคำแนะนำขแงอาจารย์และเพือนๆ ไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ค่ะ

Friend วันนี้เพือนๆ ตั้งใจฟังการนำเสนอบทความเป็นอย่างดี และได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นบทความกับอาจารย์ และให้คำแนะนำกับตนที่นำเสนอ

Teacher วันนี้อาจารย์ให้คำแนะนำในการนำเสนอบทความ และได้สรุปและพูดถึงรายละเอียดของบทความเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจบทความมากยิ่งขึ้น เตรียมตัวในการสอนดีมาก













วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่4  เดือนกันยายน  2557
ครั้งที่ 3  กลุ่มเรียน  101 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30 - 12.20 น.






     Applied การนำไปประยุกต์ใช้ 
  1. จัดประสบการณ์หรือจัดกิจกรรมจากทฤษฎีให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
  2. จัดประสบการณ์หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็ก
  3. เรียนรู้ธรรมชาติของเด็กและนำไปใช้ประโยชน์ เช่น จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสรมและสอดคล้องกับธรรมชาติของเด็ก

Teaching methods วิธีการสอน

มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องในการสอน เช่น การนำเสนอ Power Point และอธิบายเนื้อหาให้ละเอียดมากขึ้นเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการอธิบาย ฝึกให้นักศึกษาไดคิดวิเคราะห์ในการหาคำตอบมาร่วมแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์

การประเมินหลังเรียน

ดิฉันเข้าเรียนตรงต่อเวลา และแต่งกายถูกระเบียบ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็และตอบคำถามกับอาจารย์
friends  เพื่อนๆ ตั้งใจเรียนและจดบันทึกเนื้อหา เข้าเรียนตรงเวลา และแต่งกายถูกระเบียบเหมือนกันทุกคน
Teacher  วันนี้อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก ทั้งเทคโนโลยี การทำ Power Point และเนื้อหาที่จะสอน มีการแนะนำการทำ Mind Map ให้นักศึกษา ซึ่งสำคัญมาก หากอาจารย์ไม่แนะนำอาจจะทำผิดไปตลอดก็ได้ การแต่งกายเรียบร้อยสุภาพ เข้าสอนตรงเวลาค่ะ




















วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 21  เดือนสิงหาคม  2557
ครั้งที่ 1  กลุ่มเรียน  101 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30 - 12.20 น.

*วันนี้ไม่ได้เข้าเรียน เนื่องจากไปสอบสัมภาษณ์ กยศ.
และดิฉันได้สรุปการเรียนการสอนจาก นางสาว แสงระวี ทรงไตรย์


  • ความกล้าแสดงออก ทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์
  • เด็กปฐมวัย 
  1. พฤติกรรม = พัฒนาการ
  2. การเรียนรู้ หรือ การเล่น
  3. การอบรมเลี้ยงดู

สติปัญญา แบ่งได้ดังนี้
  • ความคิด เช่น  ความคิดเชิงเหตุผล เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์  และ ความคิดเชิงสร้างสรรค์
  •  การใช้ภาษา
พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สติปัญญา ภาษา
สามารถบอกความสามารถของเด็ก เพื่อจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก พัฒนาการจะเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง

พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
  • การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การรับรู้ การซึมซับ
การเรียนรู้ = การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเพื่อการมีชีวิตรอดในสังคม
รับรู้ = ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
  • วิธีการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ คือ การเล่น
การเล่น คือ การที่เด็กลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่สำคัญคือเด็กได้มีโอกาสเลือกเล่นด้วยตนเอง

การจัดการเรียนการสอน การออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใมจกับสิ่งรอบตัว ความพยายามติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้ อยากเห็น ช่างสังเกต และคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ จะช่วยเชื่อมโยงเซลล์สมองของเด็ก เพราะส่งเสริมให้เด็กได้คิดเป็นการเตรียมเด้กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นในวัยที่สูงขึ้น
สรุป วิทยาศาสตร์คือ สิ่งที่อยู่รอบๆตัว

ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจธรรมชาติเด็ก
  • จะเกิดการปิดกั้นการเรียนรู้ของเด็ก
  • ไม่สนใจการค้นพบของเด็ก
  • ไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็ก
การนำไปประยุกต์ใช้
เพื่อเป็นการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการและความสามารถของเด็ก เพื่อใช้ในวิชาชีพครูในอนาคต^^