@_@

@_@

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Study Notes 13

November 20,2014

วันนี้นำเสนอสรุปงานวิจัย 4 คน จากนั้นอาจารย์ได้รวบรวมของเล่นวิทยาศาสตร์โดยจัดเป็นหมวดหมู่และสาธิตและให้แบ่งกลุ่มทำวาฟเฟิล เพื่อเป็นแนวทางการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก

เพื่อนๆ นำเสนองานวิจัย





จัดของเล่นเป็นหมวดหมู่ ได้แก่

                                                            พลังงานลม
                                                            การหมุน
                                                            เสียง
                                                            น้ำ 
                                                            มุมเสริมประสบการณ์




สาธิตและทำวาฟเฟิล



Teaching methods (วิธีการสอน)
  • ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในงานวิจัยวิทยาศาสตร์ปฐมวัยด้วยตนเองและสรุปออกมา
  • ให้นักศึกษานำเสนอการสรุปบทวิจัยเพื่อให้ความรู้กับเพื่อนทุกคน
  • ให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและรู้จักการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
apply (การนำไปประยุกต์ใช้)
  • นำเอางานวิจัยต่างๆไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กตามพัฒนาการ
  • เครื่องมือของงานวิจัยไปใช้จัดกิจกรรมให้แก่เด็ก
  • นำเอาวิจัยไปเป็นแบบอย่างวิจัยในชั้นเรียน
  • เรียนรู้ปัญหาและการแก้ปัญหาของวิจัยแต่ละเรื่องเพื่อนำเอาเป็นแบบอย่าง
  • ใช้เป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์แก่เด็ก โดยเฉพาะ การทำ cooking โดยให้เด็กลงมือปฏิบัติจริง และต้องดูแลอย่างทั่วถึง รวมถึงบูรณาการเข้ากับวิชาอื่นๆ
Evaluation (การประเมินผล)
ตนเอง มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ และลงมือทำวาฟเฟิล ถึงจะไม่ค่อยถนัดเท่าไหร่แต่อาจารย์ก็คอยแนะนำตลอดเวลา
เพื่อน มาเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังการนำเสนอ รวมไปถึงเพื่อนที่นำเสนอมีความตั้งใจ เพื่อนๆ ดูกระตือรือร้นในการทำ cooking มาก และมีความตั้งใจในการเรียนรู้จากอาจารย์
อาจารย์  แต่งกายเรียบร้อย และมาสอนตรงเวลาตั้งใจฟังการนำเสนอของนักศึกษาจดบันทึก และจำทุกคำที่นักศึกษานำเสนอได้ เตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษามาพร้อมเพื่อให้ทั่วถึงและให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติทุกคน และคอยให้คำแนะนำอยู่ข้าง รวมถึงอธิบายการนำเอาไปจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กด้วย












วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

RESEARCH




ความมุ่งหมายของการวิจัย 
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ดังนี้

1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนก
รายทักษะ ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวน                                        พฤกษศาสตร์โรงเรียน

2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนก
รายทักษะ ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

ความสำคัญของการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์
โรงเรียนและเป็นแนวทางในการใช้วิธีการสอนและการจัดกิจกรรมให้ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก
ปฐมวัยนำไปพัฒนาทักษะด้าน อื่น ๆ ให้แก่เด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัย
ต่อไป


ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชาย–หญิง ที่มีอายุ 5–6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้น
อนุบาลศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 30 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชาย–หญิง ที่มีอายุ 5–6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้น
อนุบาลศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
1 ห้องเรียน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับสลากนักเรียนชั้น
อนุบาลปีที่ 3 จำนวน 30 คน


ตัวแปรที่ศึกษา

1. ตัวแปรต้น คือการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ทักษะ ประกอบด้วย

2.1 การสังเกต
2.2 การวัด
2.3 การจำแนกประเภท
2.4 การลงความเห็น
2.5 การพยากรณ์

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย–หญิง ที่มีอายุ 5–6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่
ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ
เชียงราย

2. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง กระบวนการในการศึกษาหาความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนหลัก คือ การตั้งคำถามหรือกำหนดปัญหา การสร้างสมมุติฐาน
หรือคาดการณ์คำตอบ การออกแบบวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และแปลความหมาย
ข้อมูล การลงข้อสรุปและการสื่อสารซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าวนี้จะบูรณาการในการจัดประสบการณ์ในแต่ละวัน

3. ทักษะทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถและความ
ชำนาญในการเลือกใช้วิธีการที่ใช้ในการแสวงหาข้อมูลที่เกิดจากการปฏิบัติและฝึกฝนอย่างมีระบบ
โดยมีทักษะที่ต้องการส่งเสริม ดังนี้

3.1 การสังเกต หมายถึง ความสามารถการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ
หลายอย่างรวมกันได้ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้นและสัมผัสผิวกายเข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือ
เหตุการณ์ เพื่อค้นหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น
3.2 การวัด หมายถึง ความสามารถใช้เครื่องมือง่าย ๆ ที่เหมาะสมกับการวัด
การกะประมาณ การเปรียบเทียบ เพื่อบอกปริมาณสิ่งของต่าง ๆ รวมถึงการใช้อุปกรณ์ในการวัด
3.3 การจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการวัด ด้วยการเรียง แยกหรือ
แบ่งสิ่งของต่าง ๆ รอบตัว ตามคุณลักษณะที่มีความเหมือน
3.4 การลงความเห็น หมายถึง ความสามารถในการอธิบายหรือการตีความหมาย
ของสิ่งที่สังเกตได้
3.5 การพยากรณ์ หมายถึง ความสามารถในการคาดคะเนหรือการทำนายคำตอบ
โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือข้อมูลจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ร่วมกับการสังเกต
ทักษะทั้ง 5 วัดได้จากแบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่
ผู้วิจัยสร้างขึ้น

4. การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หมายถึง กิจกรรมที่ประยุกต์จากดำเนินงานจากรูปแบบของ กิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยพิจารณาจากองค์ประกอบของกิจกรรมที่เหมาะสำหรับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้

4.1 กิจกรรมการปลูกต้นไม้ เช่น พืชผักพื้นเมือง สมุนไพร ฯลฯ โดยการจัดกิจกรรม
การเพาะปลูกพืชที่เด็กสนใจไว้ในโรงเรียนพร้อมทั้งเรียนรู้วิธีการดูแลรักษาและสังเกตการ
เจริญเติบโตของพืช
4.2 การศึกษาสังเกตพันธุ์ไม้ โดยจัดกิจกรรมการศึกษาสังเกตลักษณะของพรรณไม้
จากลักษณะของ ใบ ดอก ผล และทำการบันทึกลงในสมุดที่พัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับเด็ก
ปฐมวัยจากแบบสมุดบันทึกข้อมูลพันธุ์ไม้ตามแบบของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนโครงการ
อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
4.3 กิจกรรมการใช้ประโยชน์จากพืช เช่น การวาดภาพทางพฤกษศาสตร์ การ
ประกอบอาหารจากพืช การประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องประดับจากเศษวัสดุธรรมชาติ การ
ปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ที่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบ
กิจกรรมบูรณาการหรือโครงงาน

สมมุติฐานในการวิจัย

เด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรม
สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลงของทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์แตกต่างจากก่อน
การจัดประสบการณ์

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ

1. แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
2. แบบทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลได้ดำเนินการดังนี้

1. หาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการจัด
ประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อศึกษา
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและรายทักษะ โดยใช้ค่า
แจกแจง t แบบ Dependent Samples

สรุปผลการวิจัย

1. ระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะ
สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
2. ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะ แตกต่าง
จากก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น





Study Notes 12

November 13,2014emoticons น่ารักๆ catoon

วันนี้เพื่อนได้นำเสนองานวิจัย ทั้งหมด 7 คน


1.น.ส กมลพรรณ แสนจันทร์ ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 // ของศรีนวล ศรีอ่ำ

Teaching methods (วิธีการสอน)

  • ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในงานวิจัยวิทยาศาสตร์ปฐมวัยด้วยตนเองและสรุปออกมา
  • ให้นักศึกษานำเสนอการสรุปบทวิจัยเพื่อให้ความรู้กับเพื่อนทุกคน
  • ใช้คำถามกระตุ้นและใช้คำถามปลายเปิดให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์
apply (การนำไปประยุกต์ใช้)
  • นำเอางานวิจัยต่างๆไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กตามพัฒนาการ
  • เครื่องมือของงานวิจัยไปใช้จัดกิจกรรมให้แก่เด็ก
  • นำเอาวิจัยไปเป็นแบบอย่างวิจัยในชั้นเรียน
  • เรียนรู้ปัญหาและการแก้ปัญหาของวิจัยแต่ละเรื่องเพื่อนำเอาเป็นแบบอย่าง
Evaluation (การประเมินผล)
ตนเอง มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ
เพื่อน มาเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังการนำเสนอ รวมไปถึงเพื่อนที่นำเสนอมีควาตั้งใจแต่มยังมีบางคนยังไม่กล้าแสดงออกมากนัก
อาจารย์  แต่งกายเรียบร้อย และมาสอนตรงเวลา  ตั้งใจฟังการนำเสนอของนักศึกษจดบันทึก และจำทุกคำที่นักศึกษานำเสนอได้ รวมไปถึงถามเพื่อทบทวนความรู้ให้นักศึกษาที่ฟังอยู่ให้เข้าใจในงานวิจัยมากขึ้นโดยเฉพาะตัวกิจกรรมซึ่งเป็นเครื่องมือในงานวิจัย

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Study Notes 11


November 6,2014


วันนี้นำเสนอเรื่องแผนการสอน และอาจารย์อธิบายและให้คำแนะนำ


วันที่ 1   กล้วย (Banana)
ขั้นนำร้องเพลงสัมพันธ์กับเนื้อหาที่สอน เพลง กล้วยและสอนเรื่องชนิดของกล้วย อาจารย์ให้คำแนะนำโดย ทำรูปภาพให้น่าค้นหาอาจจะเปิด ปิดได้



วันที่  2  ไก่ (Chicken)
สอนเรื่องความเหมือนความแตกต่างของไก่แจ้ กับ ไก่ต๊อก  ขนาดและสี อาจารย์ให้คำแนะนำว่า อาจทำเป็นรูปจิ๊กซอให้เด็กต่อ และการทำตารางถ้าใช้ฟิวเจอร์บอร์ดอาจจะไม่พอให้ใช้กระดาษปรู๊ฟแทน




วันที่ 3 กบ (Frog)
เพื่อนสอนเรื่องวงจรชีวิตของกบ อาจารย์แนะนำการตั้งคำถามของเพื่อน เช่น กบรักกัน กลายเป็นลูกอ๊อดและแปลงกายมีขาออกมา  กบจำศีลเมื่อไหร่ ที่ไหน

 

 กบจำศีล
 

วันที่ 4 ปลา(Fish)
เพื่อนเล่านิทาน สัตว์น้ำกับชาวประมง อาจารย์แนะนำเนื้อหาของนิทาน เช่น ในตารางอาจจะมีภาพให้ดูและมีข้อควรระวัง ปลาที่มีพิษ เช่นปลาปักเป้า

 


วันที่ 5 ข้าว(Rice)
 เพื่อนๆ สอนการประกอบอาหาร ข้าวคลุกไข่ อาจารย์แนะนำคือ อาจจะให้เด็กหนึ่งคนออกมาทำหรือสาธิตกับอาจารย์ก่อน และระหว่างทำให้เด็กๆ ช่วยกันสังเกตความเปลี่ยนแปลง





วันที่ 1 ต้นไม้(Tree)

สอนเรื่องชนิดของต้นไม้ ครูนำเข้าบทเรียนด้วยคำคล้องจองและมีภาพมาประกอบการสอนควรให้เด้กจำแนกอย่างเช่นต้นเข็มมีกี่ต้น และต้นที่ไม่ใช่ต้นเข็มมีกี่ต้น


 

วันที่ 2 นม(Milk)

ครูเข้าสู่บทเรียนด้วยเพลง ดื่มนมกันเถอะ ขั้นสอน คือขั้นการทดลอง หยดน้ำยาล้างจานลงไปในนมและสีผสมอาหาร นมไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ นมมีหลายสี หลายรสชาติ หลายกลิ่น และนมเป็นของเหลวเหมือนน้ำ






วันที่ 3 น้ำ(Water)

เข้าสู่บทเรียนด้วยการร้องเพลง อย่าทิ้ง อาจารย์ช่วยปรับปรุงเนื้อร้องใหม่ เป็น
อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง    แม่น้ำจะสกปรก
ถ้าเราเห็นใครทิ้ง              รีบเตือน รีบเตือน
เข้าสู่ขั้นสอนด้วยการเล่านิทาน เรื่อง หนูนิด โดยการสอดแทรกการทิ้งขยะไม่เป็นที่อาจารย์ให้คำแนะนำควรจะมีรูปภาพ และให้เด็กได้เห็นการอนุรักษ์น้ำมากกว่านี้ ให้เด็กๆ ทำป้ายอย่าทิ้งขยะลงแม่น้ำเพื่อบูรณาการเข้ากับวิชาศิลปะสร้างสรรค์



 


วันที่ 4 มะพร้าว(Coconut)
ขั้นนำเป็นเพลง นิทาน ครูสอนวิธีการปลูกมะพร้าวจากแผ่นภาพ และให้เด็กนำแผ่นภาะมาเรียงตามขั้นตอนการปลูก


 วันที่ 5 ผลไม้(Fruit)

สอนการประกอบอาหารเริ่มขั้นนำจาก เพลง ตรงไหมจ๊ะ ครูบอกอุปกรณ์และส่วนผสมต่างๆ ให้เด็กๆ สังเกตการละลายของเนยและเมื่อนำผลไม้ไปคลุก ผลไม้จะนิ่มขึ้น อาจารย์แนะนำว่า ควรจะแบ่งเป็น 5 โต๊ะ (หากมีครูผู้ช่วย) โต๊ะที่ 1 อุปกรณ์และส่วนผสม 2. หั่นผลไม้ 3.ตักผลไม้ 4. ผัดผลไม้และเนย
5. ใช้ใบตองแทนถ้วย



 


Teaching methods (วิธีการสอน)

  • ให้คำแนะนำหลังการนำเสนอ
  • ใช้คำถามกระตุ้นให้ได้คิด 
  • ส่งเสรมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา และต่อยอดเพิ่มเติม 
apply (การนำไปประยุกต์ใช้)


นำเอาวิธีการสอนและกิจกรรมในวันต่างๆ ของเพื่อนๆ และตนเองไปใช้ในอนาคต และนำเอาคำแนะนำของอาจารย์ไปปรับใช้ในกิจกรรมของเรา เราสามารถนำเอากิจกรรมของเราไปบูรณาการใช้กับวิชาอื่นได้ อย่างเช่น การทำป้าย ห้ามทิ้งขยะ บูรณาการเข้ากับวิชาศิลปะสร้างสรรค์ การบอกจำวนของต้นไม้ การคาดคะเนส่วนผสม ก็สามารถบูรณาการเข้ากับวิชาคณิตาสตร์ การทำอาหาร ก็บูรณาการเข้าวิชาวิทยาศาสตร์ ในการสอนเด็กทำอาหารนั้นเราควรระมัดระวังและรอบคอบควรดูแลอย่างใกล้ชิด

Evaluation (การประเมินผล)
ตนเอง มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีส่วนร่วมในการนำเสนอการสอน การเล่านิทาน และตั้งใจฟังคแนะนำจากอาจารย์เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขในแผนการสอนและนำไปใช้ในอนาคต
เพื่อน มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือกับเพื่อนกลุ่มอื่นๆ และตั้งใจนำเสนอการสอนของตนเอง ตอบคำถามอาจารย์และตั้งใจฟังคำแนะนำ
อาจารย์  แต่งกายเรียบร้อย และมาสอนตรงเวลา ให้นักศึกษาได้นำเสนอความคิดของตนเอง ไม่ปิดกั้น และให้คำแนะนำเพื่อให้กิจกรรมดียิ่งขึ้นไป ใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิด และกล้าแสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออก ทำให้การนำเสนอไม่น่าเบื่อเกินไป






วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Study Notes 10


October 30,2014

    การทดลอง experiment

ปั้นอย่างไรไม่ให้จมน้ำ เพื่อนบางคนขนาดปั้นเป็นรูปเรือ ปั้นเป็นเหมือนกะทะ เพื่อไม่ให้น้ำเข้าไปในดินน้ำมัน






          เมื่อเราหย่อนดินน้ำมันที่ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ลงในอ่างน้ำ ดินน้ำมันจะจมแต่เมื่อนำดินน้ำมันปั้นให้มีลักษณะเป็นแผ่นแบน ๆ มีรูปร่างคล้ายเรือปรากฏว่าลอยน้ำได้ 
  
          การที่วัตถุสามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้  เนื่องจากวัตถุนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำและน้ำก็มีแรงดันวัตถุให้ลอยขึ้นมา แรงนี้เรียกว่า  แรงลอยตัวหรือแรงพยุง  ซึ่งแรงนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่ยิ่งวัตถุมีพื้นที่สัมผัสกับน้ำมากเท่าไหร่ หรือเข้าไปแทนที่น้ำได้มาก สังเกตจากปริมาณน้ำในขันหรือชามที่สูงขึ้น  ความหนาแน่นของวัตถุจะลดลง และแรงลอยตัวจะเพิ่มขึ้น  วัตถุจึงลอยตัวในน้ำได้
          ดังนั้นหากแผ่วัตถุให้มีขนาดใหญ่และมีขอบโค้งขึ้นมาคล้ายเรือ  วัตถุนั้นก็จะลอยตัวได้ดี  เช่นเดียวกับดินน้ำมันที่เราปั้นโดยแผ่ออกเป็นรูปเรือ ส่วนดินน้ำมันที่ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ  จะจมดิ่งลงใต้น้ำ  เพราะก้อนดินน้ำมันมีขนาดเล็ก จึงแทนที่น้ำได้ไม่มาก แรงลอยตัวก็น้อยด้วย  ดังนั้นเรือที่มีขนาดใหญ่  ถึงแม้ว่าจะมีน้ำหนักมาก แต่ก็มีส่วนที่เข้าไปแทนที่น้ำได้มาก ทำให้เรือลอยตัวอยู่บนผิวน้ำได้ดี

การทดลอง experiment



ตัดกระดาษเป็นรูปดอกไม้ และพับลงดังภาพ และนำไปลอยในน้ำ 
  1. กระดาษจะค่อยๆบานออกเป็นดอกไม้บานในน้ำ 
  2. ดอกไม้ที่ทำจากกระดาษ A4 จะบานเร็วกว่าดอกไม้ที่ทำจากกระดาษร้อยปอนด์ เนื่องจากน้ำสามารถซึมเข้ากระดาษ A4 ได้เร็วกว่า เมื่อมีน้ำซึมเข้ามาดอกไม้ก็จะค่อยๆบาน




การทดลอง experiment

เจาาะรูขวดน้ำ 3 รูเป็นแนวตั้ง ใช้สกอตเทปปิดรูไว้ ใส่น้ำให้เต็มขวด และค่อยๆ เปิดรูแรก ตามลำดับ

น้ำที่ไหลจากรูที่ 1 บนสุด ค่อยๆ ไหลลงมา

น้ำที่ไหลจากรูที่ 2 ตรงกลาง ไหลลงแรงกว่ารูที่ 1

น้ำที่ไหลจากรูที่ 3 ล่างสุด ไหลแรงที่สุด



* น้ำที่ระดับความลึกมากกว่าจะมีความดันมากกว่า

การทดลอง experiment
น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
เจาะรูที่ขวดน้ำ  ต่อสายยางและปลายสายยางมีภาชนะรองรับ ถ้าขวดน้ำอยู่สูงกว่าภาชนะ น้ำจะไหลลงภาชนะ แต่ถ้าภาชนะอยู่สูงกว่าขวดน้ำ น้ำก็จะไม่ไหล "น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ"

                                       


การทดลอง experiment

จุดเทียนจากนั้นนำแก้วมาครอบสักพักเทียนไขก็จะดับเนื่องจากเมื่อครอบแก้วอากาศจะค่อยๆหมดไปไม่ถ่ายเท









การทดลอง experiment




เมื่อมองวัตถุที่อยู่ในน้ำ จะเห็นวัตถุอยู่ตื้นกว่าความเป็นจริงเนื่องจากการหักเหของแสง




การที่เรามองเห็นภาพของดินสอดูตื้นกว่าความเป็นจริง เนื่องจากแสงมีการเปลี่ยนทิศทางออกไปเมื่อผ่านจากน้ำออกสู่อากาศ ตำแหน่งที่เห็นดินสอจึงไม่ใช่ตำแหน่งที่แท้จริง


Teaching methods (วิธีการสอน)
  • ตั้งคำถาม ให้เด็กเกิดการคิด และสมมติฐาน
  • ให้เด็กได้ลงมือทดลอง และปฏิบัติจริง
  • เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ได้คิดวิเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์
  • จัดเตรียมอุปกรณ์ครบถ้วน
apply (การนำไปประยุกต์ใช้)
นำเอาการทดลองไปใช้กับการจัดกิจกรรมให้แก่เด็ก ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง ตั้งคำถามให้เด็กได้มีโอกาสคิด และตั้งสมมติฐาน ให้ทดลองด้วยตนเอง ไม่ปิดกั้นความรู้ของเด็ก หากเรื่องไหนที่เด็กถามเราแต่เราไม่ทราบ อาจจะหาคำตอบร่วมกัน เช่น ในห้องสมุด ในการทดลองเราควรคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ และภาชนะต่างๆ
Evaluation (การประเมินผล)
ตนเอง มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ปั้นดินน้ำมันไม่ให้จมน้ำได้ ได้ลองทำการทดลองหลายอย่างและได้ตั้งสมมติฐาน ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนและอาจารย์
เพื่อน มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือกับอาจารย์  ช่วยจัดอุปกรณ์ และสนุกสนานกับการทดลองและการตั้งสมมติฐาน
อาจารย์  แต่งกายเรียบร้อย และมาสอนตรงเวลา เตรียมอุปกรณ์มาให้ในการทดลองมีอุปกรณ์ที่ครบถ้วน ทั่วถึงกับนักศึกษาทุกคน ใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย ทำให้นักศึกษาสนุกและเข้าใจการเรียน ไม่น่าเบื่อจนเกินไป